ท่านเคยสังเกตุกันไหมครับว่าถังดับเพลิงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทำไมถึงมีหลากหลายสีมาก แล้วแต่ละสีแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร?
ปัจจุบันถังดับเพลิงที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปจะมีอยู่ 3 สี คือตัวถังสีแดง สีเขียว และสีเงินสเตนเลส ผมขออธิบายถึงถังดับเพลิงของแต่ละสีก่อนว่ามีคุณสมบัติและชื่อเรียกอย่างไรบ้าง
สีแดง
ถังดับเพลิงสีแดง คุณลักษณะก็คือเครื่องดับเพลิงชนิด ผงเคมีแห้ง(Dry Chemical) เป็นเครื่องดับเพลิงที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งไทยและต่างประเทศ เนื่องจากเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งสามารถใช้กับไฟได้ทุกประเภท Class A, Class B, Class C มีประสิทธิภาพในการดับไฟสูง มีรุ่นที่มี Fire Rating สูงถึง 10A-40B ซึ่งสามารถดับไฟที่มีขนาดกองเพลิงใหญ่มากลงได้ (สามารถอ่านบทความเรื่อง Fire Rating ได้ในบทความนี้>> ((FIRE RATING))
สถานที่แนะนำในการติดตั้ง : ติดตั้งได้ทั่วไป ทั้งภายนอกและภายในอาคาร
(Dry Chemical Fire Extinguisher)
ยังมีเครื่องดับเพลิงอีก1ชนิดที่ใช้สีแดงเช่นกัน นั่นก็คือเครื่องดับเพลิงประเภท คาร์บอนไดออกไซด์ หรือCo2 วิธีสังเกตุเครื่องดับเพลิงชนิดนี้คือ ปลายสายมีลักษณะใหญ่และบานออก ตัวถังไม่มีเกจ์วัดแรงดัน เครื่องดับเพลิงCo2มีข้อดีคือเมื่อฉีดใช้ ไม่ทิ้งครบสกปรกเหมือนผงเคมีแห้ง แต่ก็มีข้อจำกัดที่แนะนำให้ใช้ภายในอาคารเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ใช้ได้ดีกับเพลิงที่เกิดจาก Class B และ Class C
สถานที่แนะนำในการติดตั้ง : บ้าน อาคารสำนักงาน ติดตั้งภายในอาคารที่เป็นอากาศปิด ไม่ควรติดตั้งภายนอกที่โดนแสงแดดโดยตรง
อ่านบทความเพิ่มเติม CO2 ได้ที่นี่ ((ลิงค์))
(Co2 Fire Extinguisher)
สีเขียว
เครื่องดับเพลิงสีเขียว หมายถึงเครื่องดับเพลิงประเภทสารเหลวระเหย หรือเรียกว่าสารสะอาด(Clean Agent) เมื่อก่อนเครื่องดับเพลิงที่บรรจุสารเหลวระเหยจะใช้เป็นสีเหลือง บางท่านอาจจะเคยผ่านตามาบ้าง จะบรรจุสารชื่อ Halon1211 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการดับไฟสูง แต่ก็มีข้อเสียที่ร้ายแรงเนื่องจากสาร Halon1211 เป็นสารCFCที่ทำลายชั้นบรรยากาศ ทำให้ต้องถูกระงับการจำหน่ายไป ปัจจุบันจึงถูกแทนที่ด้วยเครื่องดับเพลิงสีเขียวแทน เครื่องดับเพลิงSATURN Clean Agent ในปัจจุบันใช้สารดับเพลิงประเภท HFCs (Hydrofluorocarbon) ซึ่งเป็นสารสะอาดที่ปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อมยิ่งกว่าเดิม มีค่าการทำลายโอนโซนเป็นศูนย์ (Ozone Depletion =0)! ถังดับเพลิงประเภทสารสะอาดจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อใช้ภายในอาคาร สามารถดับไฟได้ทั้ง Class A, Class B และ Class C
สถานที่แนะนำในการติดตั้ง : อาคารสำนักงาน ห้องเซิฟเวอร์ ห้องclean room ห้องData Center ตู้ไฟฟ้า ติดตั้งภายในอาคารที่เป็นอากาศปิด
(Clean Agent Fire Extinguisher)
สีเงิน
เครื่องดับเพลิงสีเงิน หมายถึงเครื่องดับเพลิงประเภทโฟม สาเหตุที่ตัวถังเป็นสีเงินหรือสเตนเลสก็เนื่องมาจากสารที่บรรจุมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เนื้อสารจะใช้ชื่อว่า Premix Foam AFFF หรือ AR-AFFF เมื่อผสมกับน้ำและฉีดใช้จะเกิดเป็นโฟมขึ้นมา ทำหน้าที่ได้ดีในการดับเพลิง Class A เนื่องจากมีส่วนผสมของน้ำ และ Class B โดยเนื้อโฟมจะเข้าไปปิดผิวน้ำมันเพื่อตัดอากาศออกจากกองเพลิง
สถานที่แนะนำในการติดตั้ง : ครัว หรือที่ที่มีความเสี่ยงจากเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน
(Foam Fire Extinguisher)
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติแต่ละชนิด สามารถดูได้ตามตารางด้านล่างนี้ครับ
ปัจจุบันเครื่องดับเพลิงมีให้เลือกใช้หลายชนิดเพื่อตอบสนองต่อความเสียงในแต่ละพื้นที่ ขอให้ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเลือกเครื่องดับเพลิงให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในชีวิตและทรัพย์สินต่อผู้ใช้งานครับ
________________________________________
บทความเขียนและเผยแพร่โดย
บจก. สยามเบสท์ สตีล เวิร์คส์
สงวนลิขสิทธิ์ทั้งบทความและรูปภาพประกอบ โดยบจ.สยามเบสท์ สตีล เวิร์คส์
ห้ามนำส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
Comments