top of page
รูปภาพนักเขียนSiambest Steel Works

คู่มือการใช้งานถังดับเพลิง เครื่องดับเพลิง

อัปเดตเมื่อ 1 พ.ย. 2565

องค์ประกอบของไฟ

เพลิงไฟเกิดจากองค์ประกอบซึ่งทำปฏิกิริยาต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ดังนี้ :

องค์ประกอบของไฟ
องค์ประกอบของไฟ

1. ออกซิเจน (Oxygen)

2. เชื้อเพลิง (Fuel)

3. ความร้อน (Heat)

หากขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งก็ตาม จะทำให้ไฟดับลงในที่สุด


ตามาตรฐาน NFPA10 ที่มอก.ใช้อ้างอิงอยู่ประเภทของไฟจะแบ่งเป็น 5 ประเภทดังนี้

  • Class A เพลิงที่เกิดจากของแข็ง เช่น ไม้ กระดาษ พลาสติก ยาง

  • Class B เพลิงที่เกิดจากของเหลวติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซ ทินเนอร์ หรือสารทำละลายต่างๆ

  • Class C เพลิงที่เกิดจากไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ไฟฟ้าลัดวงจร

  • Class D เพลิงที่เกิดจากโลหะติดไฟ โดยทั่วไปจะพบได้น้อยมาก เช่นกลุ่มโลหะอัลคาไล หรือ ธาตุกลุ่มที่4ในตารางธาตุ เช่น ไททาเนียม(Ti) , เซอร์โคเนียม (Zr)

  • Class K เพลิงที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร โดยปกติแล้วหมวดนี้จะอยู่รวมกับClass B แต่เนื่องจากตัวเชื้อเพลิงทำให้เกิดไฟที่รุนแรงกว่าจึงเห็นสมควรแยกประเภทออกมาเป็น Class K เช่น น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ เครื่องดับเพลิง Water Mist หรือ โฟม AFFF เหมาะสำหรับใช้กับเพลิงชนิดนี้

ระยะการเกิดเพลิงไฟ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

1. ขั้นต้น คือ ตั้งแต่เห็นเปลวไฟจรถึง 4 นาที สามารถดับได้เองเบื้องต้นโดยใช้ถังดับเพลิง


2. ขั้นปานกลาง คือ ระยะเวลาช่วง 4 - 8 นาที อุณหภูมิจะสูงมากเกินกว่า 400 องศาเซลเซียส หากจะใช้เครื่องดับเพลิง ต้องมีความชำนาญและต้องมีอุปกรณ์ จำนวนเพียงพอ จึงควรใช้ระบบดับเพลิงขั้นสูง จะมีความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่มากกว่า


3. ขั้นรุนแรง คือ ระยะเวลาเพลิงไหม้ต่อเนื่องไปแล้ว เกิน 8 นาที และยังคงมีเชื้อเพลิงอีกมาก อุณหภูมิสูงมากกว่า 600 องศาเซลเซียส ไฟจะลุกลามและขยายตัวไปทุกทิศทางอย่างรุนแรงและรวดเร็ว การดับเพลิงต้องใช้ผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม พร้อมอุปกรณ์ในการระงับเหตุขั้นรุนแรง

การติดตั้ง
  • สำหรับเครื่องดับเพลิงขนาดเบาที่มีน้ำหนักรวมไปเกิน 10กก. (5ปอนด์, 10ปอนด์, 15ปอนด์) ให้ติดตั้งสูงจากพื้น โดยวัดจากส่วนที่สูงที่สุดของเครื่องดับเพลิง ต้องไม่เกิน 150 ซม.

  • สำหรับเครื่องดับเพลิงที่มีน้ำหนักมากกว่า 10 กก. (20ปอนด์, 50ปอนด์, 100ปอนด์) ให้ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 90 ซม.พร้อมติดตั้งปายขี้ตำแหน่ง เครื่องดับเพลิงเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน

วิธีใช้งานเครื่องดับเพลิง

'ดึง ปลด กด ส่าย' 4ขั้นตอนง่ายๆที่จะช่วยให้คุณสามารถใช้ถังดับเพลิงได้อย่างถูกวิธีในสถานการณ์ที่จำเป็น

วิธีใช้งานถังดับเพลิง
วิธีใช้งานถังดับเพลิง

  • ดึง จัดวางเครื่องดับเพลิงให้ฉลากหันหน้าเข้าหาลำตัวในด้านที่ผู้ใช้ถนัด จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือแตะที่คันบีบด้าน บน โดยที่นิ้วทั้งสี่ที่เหลือจับใต้คันบีบด้านล่าง หิ้วเครื่องดับเพลิงไปยังตำแหน่งของกองเพลิงโดยยืนห่างจากกองเพลิงประมาณ 3-4 เมตร โดยเข้าทางเหนือทิศทางลม จากนั้นจึงทำการดึงสลักนิรภัยออก

  • ปลด ปลดปลายสายออกจากตัวถัง เล็งไปยังบริเวณฐานเชื้อเพลิง โดยจับปลายสายให้แน่นอย่าให้หลุดมือ

  • กด เล็งสายที่กองเพลิงและกดคันบีบ ควรกดให้สุดคันบีบเพื่อให้เคมีออกมาได้อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง

  • ส่าย ส่ายปลายสายไปมา เพื่อให้ผงเคมีครอบคลุมทั่วกองเพลิง ย่อตัวลงเล็กน้อยเพื่อหลบความไฟและความร้อน ฉีดจากใกล้ไปไกลและควรเข้าสู่เป้าหมายด้วยความระมัดระวัง เมื่อแน่ใจว่าไฟดับสนิทแล้วจึงถอยออกจากจุดเกิดเหตุ

***ข้อควรระวัง อย่าฉีดที่เปลวไฟ ให้ฉีดที่ฐานของเพลิงไฟ***

​​

การบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิง

​เครื่องดับเพลิงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างยิ่ง จึงควรบำรุงรักษาเพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานต่อเหตุไม่คาดคิดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอยู่เสมอ

สถานที่ติดตั้ง

  • หลีกเลี่ยงการติดตั้งไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง มีความชื้นสูง หรือเกิดความสกปรกได้ง่าย เช่น ตากแดด ตากฝน หรือติดตั้งใกล้จุดกำเนิดความร้อนต่างๆ เช่น เตาไฟ หรือเครื่องจักรที่มีความร้อนสูง

การบำรุงรักษา

  • ทำความสะอาดตัวถัง และอุปกรณ์(สายฉีด, หัวฉีด) เป็นประจำเพื่อตรวจดูสภาพตัวถังและอุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และมีสภาพใหม่อยู่เสมอ

  • หากเป็นเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ควรยกถังพลิกคว่ำ-หงาย ประมาณ5-6ครั้ง ทุกๆ3-6เดือน เพื่อให้ผงเคมีมีการเคลื่อนตัวและไม่จับตัวเป็นก้อน

  • เครื่องดับเพลิงที่มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป ควรส่งมาตรวจสอบที่บริษัทเพื่อตรวจเช็คสภาพของตัวเครื่องและทำการถ่ายเคมีออกและบรรจุใหม่

การตรวจสอบแรงดันภายในเครื่องดับเพลิง

แรงดันถังดับเพลิง
แรงดันถังดับเพลิง

1. แรงดันปกติ(195psi):

เข็มอยู่ในแนวตั้ง 90ºC ที่แรงดันปกติ195psi หรือในพื้นที่สีเขียวแสดงว่าอยู่ใน สภาพพร้อมใช้

2. แรงดันตํ่า(RECHARGE):

เข็มเอียงไปทางด้านซ้ายมือนอกพื้นที่สีเขียว หรือต่ำกว่าแรงดันปกติ195psi แสดงว่าแรงดันภายในถังต่ำ กว่าปกติอยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน ควรติดต่อบริษัททันทีเพื่อทำการอัด ฉีดแรงดันใหม่

3. แรงดันเกิน(OVERCHARGE):

เข็มเอียงไปทางด้านขาวมือนอกพื้นที่สีเขียว หรือสูงกว่าแรงดันปกติ 195psi แสดงว่าแรงดันภายในถังสูงกว่าปกติ สภาพถังอาจจะบวมหรือแตกออกหากแรงดันขึ้นสูงเกิน 1000psi อาจทำให้เกิดอันตรายเนื่องจากตัวถังอาจระเบิดได้!!! ควรติดต่อบริษัทให้ดำเนินการแก้ไขโดยด่วน


หมายเหตุ: เครื่องดับเพลิงชนิดCO2 จะไม่มีมาตรวัดแรงดัน ผู้ใช้สามารถตรวจวัดก๊าสภายในถังได้โดย วิธีชั่งน้ำหนัก หากน้ำหนักก๊าสภายในถังลดลงต่ำกว่า 80% ควรติดต่อบริษัทเพื่อทำการ ดำเนินการบรรจุใหม่ในทันที


คู่มือการใช้งานเครื่องดับเพลิง

คู่มือถังดับเพลิงสามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ครับ





บทความได้รับการอนุญาตเผยแพร่โดย

บจก. สยามเบสท์ สตีล เวิร์คส์

สงวนลิขสิทธิ์ทั้งบทความและรูปภาพประกอบ โดยบจ.สยามเบสท์ สตีล เวิร์คส์

ห้ามนำส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

1 Comment


Guest
Apr 07, 2022

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

Like
bottom of page